เมนู

ปัญจสติกักขันธก วรรณนา


วินิจฉัยในปัญจสติกักขันธกะ พึงทราบดังนี้:-
สองบทว่า ปญฺจ นิกาเย ปุจฺฉิ มีความว่า ท่านพระมหากัสสปะ
ถามนิกาย 5 คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย อังคุตตรนิกาย สังยุตตนิกาย
ขุททกนิกาย.
คำอย่างนี้ว่า เว้นปาราชิก 4 เสีย สิกขาบทที่เหลือ เป็นสิกขาบทเล็ก
และเล็กน้อย เป็นอาทิ พระสังคาหก์เถระทั้งหลายกล่าวแล้วโดยปริยาย เพื่อ
แสดงความที่สิกขาบททั้งปวง อันท่านฟังรวบรวมเอาไว้ ไม่ละทิ้งแม้สิกขาบท
เดียว.
หลายบทว่า อิทํ โว สมณานํ มีความว่า นี้ สมควรแก่สมณะ
ทั้งหลาย. โว อักษร ใช้ในอรรถสักว่ายังบทให้เต็ม.
บทว่า ธูมกาลกํ มีความว่า ควันแห่งจิตกาธารเป็นที่ปรินิพพาน
ของพระสมณะ ยังปรากฏอยู่เพียงใด, กาลเพียงนั้น เป็นกาลแห่งสิกขาบทที่
พระสมณะทรงบัญญัติแล้วแก่สาวกทั้งหลาย.
คำว่า อิทํปิ เต อวุโส อานนฺท ทุกฺกฏํ นี้ อันพระเถระ
ทั้งหลาย เพียงแต่จะติว่า กรรมนี้อันท่านทำไม่ดีแล้ว จึงกล่าวแล้ว, หาได้
กล่าวหมายถึงอาบัติไม่. อันพระเถระเหล่านั้น จะไม่รู้จักอาบัติ และมิใช่อาบัติ
หามิได้.